
11 Sep ถ้าซื้อของมาแล้วผู้ขายผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานให้ ต้องทำอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว เอกสารที่มีหลักฐานการจ่ายเงินสมบูรณ์ถูกต้อง เป็นไปตามกฏหมาย และสรรพากรยอมรับ เอกสารรายจ่ายนั้นควรจะมีข้อความ ดังนี้
- ชื่อที่อยู่ของผู้รับเงิน/ผู้ขาย
- มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี, หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับบุคคลธรรมดา
- มีชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อ/ผู้จ่ายเงิน
- มีรายละเอียดสินค้า/บริการ จำนวนเงิน
- เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
แต่ก็มีบ้างที่เมื่อเวลาไปซื้อของหรือจ่ายเงินแล้ว ผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานให้ สรรพากรมีหลักเกณฑ์การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ผู้รับเงินไม่มีหลักฐานการรับเงินที่เพียงพอต่อการบันทึกบัญชี กิจการ สามารถจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เอกสารแสดงการรับเงินของผู้รับเงิน
-
-
- ใบรับเงิน ตามมาตรา 105 ทวิ
-
ใช้ในกรณีผู้รับเงินยินยอมออกใบรับเงิน

- ใบสำคัญรับเงิน
ใช้ในกรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมจะลงลายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน”

-
-
- ใบรับรองแทนใบสำคัญรับเงิน
-
ใช้ในกรณี กิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ด แต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว

2. จัดทำใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher) ใช้สำหรับกรณีไม่มีหลักฐานตาม (ข้อ 1)
ใบสำคัญจ่าย ต้องระบุ
- ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้รับ วันเดือนปีที่จ่าย รายการที่จ่ายเงินว่าจ่ายเป็นค่าอะไร จำนวนเงิน และลายเซ็นผู้รับเงิน
- แนบสำเนาบัตรประชาชน
- แนบหลักฐานการจ่ายชำระอื่นๆ ประกอบ เช่น สำเนาเช็ค สำเนาใบ pay-in slip
- กรณีต้องมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องหัก ก็แนบสำเนาการหักภาษีประกอบด้วย
เรื่องของหลักฐานรายจ่ายมักจะถูกประเมินภาษีค่อนข้างบ่อย เช่น ใบเสร็จรับเงินไม่ระบุชื่อผู้ซื้อ(หรือเขียนสด), เป็นบิลเงินสด(ไม่ระบุชื่อผู้ขาย), ไม่มีหลักฐานการซื้อสินค้ามาแสดง
ดังนั้นบริษัทต้องเลือกซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่ลงบัญชีถูกต้อง ออกบิลสมบูรณ์ หรือทำตามหลักข้อหารือสรรพากร ก็จะทำให้หลุดรอดปลอดภัยจากบ่วงภาษีได้
ทั้งนี้ ผู้รับเงินจากกิจการตามเอกสารหลักฐานที่ปรากฏต้องมีพฤติกรรมประกอบอาชีพนั้นอย่างแท้จริง
Post Views:
224